ประวัติความเป็นมาบุคคลสำคัญทางคอมพิวเตอร์ในต่างประเทศ


ประวัติความเป็นมาบุคคลสำคัญทางคอมพิวเตอร์ในต่างประเทศ
	ในปี พ.ศ.2160 จอห์นเนเปีนร์ (John Napier) นักคณิตศาสตร์ชาวสก็อตได้คิด
อุปกรณ์ที่ใช้ช่วย การคูณ การหาร และ ถอดกรฌฑ์ให้ง่ายขึ้น ซึ่งเรียกว่า Napier'bones 
	ในปี พ.ศ.2173 วิลเลียม ออตเทรต(William Oughtred) นักคณิตศาสตร์ชาว
อังกฤษได้ประดิษฐ์ไม้บรรทัดคำนณ (Slide Rule) ซึ่งต่อมากลายเป็นพื้นฐานของการสร้าง
คอมพิวเตอร์แบบอนาลอก 
	ในปี พ.ศ.2185 เบลส์ ปาสคาล (Blaise Pascal) นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศสได้
ประดิษฐ์เครื่องบวกลบขึ้น โดยใช้หลัการหมุนของฟันเฟือง และการทดเลขเมื่อฟันเฟืองหมุน ไปครบรอบ 
โดยแสดงตัวเลขจาก 0-9 ออกที่หน้าปัด ซึ่งมีเลขอยู่ 8 หลักสิ่งประดิษฐ์ที่ว่านี้เรียก ว่าPascaline 
calculator 
	ในปี พ.ศ.2214 กอทฟริต ฟอน ลิปนิจ (Gottfried Von Leibniz) นัก
คณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน ได้ปรับปรุงเครื่องคิดเลขปาสคาล ให้ทำงานได้คล่องตัวโดยไม่ติดขัดและยังทำ
การคูณ และ หาร ได้ด้วยหลักการของการบวก และ ลบกันหลาย ๆ ครั้งสิ่งประดิษฐ์ที่ว่านี้เรียกว่า 
Arithmometer Machine 

	ในปี พ.ศ.2288 โจเซฟ แมรี่ แจคคาร์ด (Joseph Marie Jacquard) เป็นชาว
ฝรั่งเศสได้คิด เครื่องทอผ้า โดยใช้คำสั่งจากบัตรเจาะรูควบคุมการทดผ้าให้มีสีและลวดลายต่าง ๆ 

	ในปี พ.ศ.2365 ชาร์ล แบบเบจ (Charles Babbage) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ
ได้ประดิษฐ์เครื่องมือที่เรียกว่า
	ในปี พ.ศ.2373 แบบเบจได้พยายามสร้าง เครื่องคำนวณอีกชนิดหนึ่งเรียกว่าเครื่อ
่งวิเคราะห์ (Analytical Engine) โดยแบ่งการทำงาน ของเครื่องออกเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนเก็บข้อมูล 
ส่วนควบคุมและส่วนคำนวณ ครื่องมือนี้ได้รับการออกแบบให้ใช้ระบบพลังงานเครื่องยนต์ไอ น้ำเป็นตัว
หมุนฟันเฟืองโดยมี ข้อมูลบันทึกอยู่ในบัตรเจาะรูสามารถคำนวณได้โดย อัตโนมัติและเก็บผลลัพธ์ใน
หน่วยความ จำก่อนที่จะพิมพ์ออกทางกระดาษ แต่เนื่องจาก เครื่องที่เขาคิดขึ้นนี้ก้าวหน้าเกินกว่าวิธีการ 
และเทคโนโลยี่ในสมัยนั้นจะสร้างได้ ประกอบกับขาดผู้สนับสนุนทางทุนทรัพย์ จึงทำให้ไม่สามารถสร้าง
เครื่องวิเคราะห์นี้ได้สำเร็จ อย่างไรก็ตาม หลักการและแนวคิดที่สำคัญดังกล่าว ได้รับการนำมาใช้สร้าง
เครื่องคอมพ ิวเตอร์ สมัยใหม่ จึงยกย่องแบบเบจ ว่าเป็นบิดาแห่งเครื่องคอมพิวเตอร์ นักคณิตศาสตร์ที่
เข้าใจผลงานของ แบบเบจ ก็คือ เลดี้ เอดา ออคุสตา เลฟเลค (Lady Ada Augusta Lovelace ) 
ได้เขียนวิธีการใช้เครื่องนี้แก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เล่มหนึ่งดังนั้น ในเวลาต่อมา เลดี้ เอดา ออคุสตา 
เลฟเลค จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นโปรแกรมเมอร์ คนแรกของโลก 
	ในปี พ.ศ.2393 ยอร์จ บูล (George Boole) นักคณิศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้คิด
ระบบพีชคณิตระบบใหม่เรียกว่า Boolean Algebra ซึ่งใช้อธิบายหลักเหตุผลทางตรรถวิทยา 4 
โดยใช้สภาวะเพียงสองอย่างคือ 0 และ 1 ร่วมกับเครื่องหมายในทางตรรถะพื้นฐาน ได้แก่น็อตแอนด์ 
และออร์ นับเป็นการกำเนิดของระบบเลขฐานสอง และ Boolean Algebra ก็ได้ถูกนำมาดัดแปลง
ให้เข้ากับวงจรไฟฟ้า ซึ่งมีสภาวะ 2 แบบ คือ เปิด,ปิด จึงนับเป็นรากฐานของการออกแบบวงจรในระบบ
คอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน 
	ในปี พ.ศ.2423 ดร.เฮอร์แมน ฮอลเลอริธ (Dr.Herman Hollerith)นัก
คณิตศาสตร์ชาวอเมริกันได้ประดิษฐ์เครื่องประมวลผลทางสถิติ ซึ่งใช้กับบัตรเจาะรูสำหรับนำมาใช้กับ
งานประมวลผลข้อมูลสำมะโนประชากรในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งทำให้สรุปผลการสำรวจได้เร็วกว่า
เดิมมาก บัตรที่ฮอลเลอริธคิดขึ้นนี้เรียกว่า บัตรฮอลเลอริธ และรหัสที่ใช้เจาะบัตรนี้เรียกว่า รหัสฮอลเลอริธ 
ซึ่งถือว่าเป็นรหัสภายนอกเครื่องคอมพิวเตอร์ บัตรเจาะรูของฮอลเลอริธได้พัฒนามาจนถึงปัจจุบัน และมี
ชื่อเรียกบัตรนี้ว่าบัตรไอบีเอ็มหรือบัตร 80 คอลัมน์ทั้งนี้เพราะบริษัทผู้ผลิตคือ บริษัทไอบีเอ็ม และบัตรดัง
กล่าวมี 80 คอลัมน์นั่นเอง 
	ในปี พ.ศ.2480-2481 ดร.จอห์นวินเซนต์อตานาซอฟ (Dr.Jobn 
VincentAtansoff) และคลิฟฟอร์ด แบรี่ (Clifford Berry) ได้ประดิษฐ์เครื่อง 
ABC(Atanasoff-Berry)ขึ้น โดยได้นำหลอดสูญญากาศมาใช้งานเครื่อง จักรกลไฟฟ้า อย่างไรก็ดี
ผลงานนี้ยังไม่ได้เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง เนื่องจากด้วยในช่วงเวลาที่พัฒนาระบบอยู่นั้นออกจะเร็ว
ไปสักนิดในการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เขาประดิษฐ์ และเครื่องชนิดนี้ยัง
ไม่สมบูรณ์เพียงพอจึงได้ถูกยกเลิกไป 

	ในปี พ.ศ.2487 ศาสตราจารย์โอเวิร์ด ไอด์เคน 
 แห่งมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ร่วมกับวิศวกรของบริษัทไอบีเอ็มได้สร้างเครื่อง MARK I หรือเครื่อง 
ASSC < Automtic Sequence Controlled Calculator > เป็นผลสำเร็จแต่อย่างไรก็
ตามเครื่องMARK I นี้ยังไม่ใช่คอมพิวเตอร์ที่แท้จริงแต่เป็นเครื่องคิดเลขไฟฟ้าขนาดใหญ่เท่านั้น 
	ในปี พ.ศ.2485-2495 จอห์น มอชลี่ < John Mauchly > และเปรสเปอร์ 
แอคเคิร์ท 5 Presper Ackert จากมหาวิทยาลัยเพนซิลเลเนียได้ร่วมกันสร้างเครื่อง ENIAC
 < Electronic Numerical Integrator And Calculator >นับได้ว่าเป็นเครื่องคำนวณ
อิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกของโลกที่ใช้หลอดสูญญากาศ และควบคุมการทำงานโดยวิธีเจาะชุดคำสั่งลงใน
บัตรเจาะรู 
	ในปี พ.ศ.2492 ดร.จอห์น ฟอน นิวแมนน์ < Dr.John Von Neumann > ได้
สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถเก็บคำสั่งการปฏิบัติงานทั้งหมดไว้ภายในเครื่อง ชื่อว่า ADVAC 
< Electronic Discrete Variable Automatic Computer > นับเป็นคอมพิวเตอร์
เครี่องแรกที่สามารถเก็บโปรแกรม ไว้ในเครื่องได้และเป็น เครื่องคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ระบบ
เลขฐานสองในเวลาใกล้เคียงกันนี้ที่มหาลัยเถมบริดจ์ประเทศอังกฤษ ได้มีการสร้างคอมพิวเตอร์ ชื่อว่า 
EDSAC  ซึ่งมีลักษณะ
เดียวกับเครื่อง ADVAC คือเก็บโปรแกรมคำสั่งไว้ได้แต่ใช้เทปแม่เหล็กแทนบัตรเจาะรู 
	ในปี พ.ศ.2494 มอชลี่และแอคเคร์ท ได้สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์อีกชนิดหนึ่งชื่อว่า 
UNIVACI < Universal Automatic Computer > นำไปใช้ในงานสำมะโนประชากรสหรัฐ
อเมริกาต่อมาในปี พ.ศ.2497 ไดนำไปใช้ในงานทางด้านธุรกิจ นับเป็นคอมพิวเตอร์สำหรับใช้งานทาง
ธุรกิจเครื่องแรกของโลก 
	ในปี พ.ศ.2496-2497 บริษัทไอบีเอ็มได้สร้างคอมพิวเตอร์ชื่อ IBM701 และ
 IBM650 โดยใช้หลอดสูญญากาศเป็นวัสดุสร้างเป็นหน่วยความจำ ต่อมาเกิดมีการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์
ที่เป็นสารกึ่งตัวนำขึ้นที่ห้องปฏิบัติการของบริษัท เบลล์ เทเลโฟน (Bell Telephone) ได้เกิด
ทรานซิสเตอร์ตัวแรกขึ้นและต่อมาทรานซิสเตอร์ได้ถูกนำไปแทนหลอดสูญญากาศทำให้ขนาดของ
คอมพิวเตอร์เล็กลงและเกิดความร้อนน้อยเครื่องที่ใช้ทรานซิสเตอร์ได้แก่ IBM1401และIBM1620 
	ในปี พ.ศ.2508 วงจรคอมพิวเตอร์ก็มีการเปลี่ยนแปลง อีกมากขึ้นเมื่อมีวงจรรวม 6 
 หรือ IC เกิดขึ้น ซึ่งไอบีเอ็มนี้ได้ถูกนำไปแทนที่ทรานซิสเตอร์ ในวงจร
อิเล็กทรอนิกส์ของระบบคอมพิวเตอร์อีกครั้ง ซึ่งผลก็คือทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง 
	ในปี พ.ศ.2514 ก็ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงแก่วงการคอมพิวเตอร์อีกครั้นเมื่อบริษัทอิน
เทล < Intel Coperation > ได้ใช้เทคโนโลยีของการผลิตวงจรรวมแบบ Large 
ScaleIntergeated Circuit หรือ LSI ทำการรวมเอาวงจรที่ใช้เป็นหน่วยประมวลผลกลาง
< Central Processing Unit หรือ CPU > ของคอมพิวเตอร์มาบรรจุอยู่ในแผ่นไอซีเพียงตัว
เดียวซึ่ง ไอซี นี้เรียกว่าไมโครโปรเซสเซอร์ < Microprocessor >เมื่อนำไมโครโปรเซสเซอร์ มา
รวมกับหน่วยความจำ หน่วยอินพุต และ เอาท์พุต< Input Output Unit> ก็จะทำให้
ได้เป็นระบบคอมพิวเตอร์ขึ้นมาแต่เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็ก ซึ่งเรียกว่า ไมโครโปรเซสเซอร์ ซึ่งก็
หมายความว่าเป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ไมโครโปรเซสเซอร์เป็นหน่วยประมวลผลกลางนั่นเอง